Git เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับทำเรื่อง Version Control ให้กับ Source Code ยังมี Developer อีกมาก ที่ยังไม่รู้จัก Git และมี Developer อีกไม่น้อย ที่รู้จัก Git แต่เพียงผิวเผิน
Credit : http://www.git-scm.com/downloads/logos
ส่วนใหญ่ เมื่อพูดถึง Git บ้างก็จะตีความไปเป็นเว็บ github.com บ้าง ตีความไปว่า จะต้อง Online บ้าง ต้องมี Server มารองรับบ้าง แต่อันที่จริงแล้ว Git นั้น เริ่มต้นง่าย ๆ จาก Local หรือบนเครื่องคอมพ์ของเรานั่นเอง
สำหรับบทความนี้ จะพูดถึงขั้นตอนการติดตั้ง Git สำหรับ Windows โดยสามารถ Download ชุดติดตั้งได้จาก git-scm.com
ก่อนอื่น ให้ Download Git for Windows มาก่อน

จะได้ไฟล์ติดตั้ง เป็นชนิด exe มา 1 ไฟล์ ก็ดับเบิ้ลคลิก ให้คลิกขวา เลือก Run as administrator ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้ง
ที่ต้อง Run as admin เพราะเมื่อมีการติดตั้ง Version ใหม่ลงไปทับ หากติดตั้งปกติ จะไม่สามารถติดตั้งได้

ขั้นตอนการติดตั้งก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เมื่อเริ่มติดตั้ง จะพบกับหน้าจอต้อนรับ เมื่อกด Next > ไปก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ให้อ่าน… เอ้า อ่านนนนนนนน~!!


เมื่ออ่านเกี่ยวกับลิขสิทธิ์จบแล้ว (แน่ะ… รู้นะว่าไม่ได้อ่าน) กดปุ่ม Next > ก็จะพบกับหน้าจอตัวเลือก ว่าเราต้องการอะไรบ้าง (สำหรับมือใหม่ แนะนำให้ใช้ค่า Default ไปก่อน) เรียบร้อยแล้วก็กดปุ่ม Next >

ต่อด้วยตัวเลือกเกี่ยวกับการใช้งานผ่าน Command line โดยจะมี 3 ทางเลือกคือ…
- Use Git from Git Bash only – ตัวเลือกนี้ จะใช้งาน Git ผ่าน Command line ต้องเปิดจาก Git Bash เท่านั้น
- Use Git from the Windows Command Prompt – ตัวเลือกนี้ สามารถใช้คำสั่ง Git ผ่านทาง Command Prompt ของ Windows ได้เลย (สมัยก่อนมักเรียกว่า Dos แต่สมัยนี้ชอบเรียกกันว่า cmd)
- Use Git and optional Unix tools from the Windows Command Prompt – ตัวเลือกนี้ จะเหมือนตัวเลือกที่สอง แต่จะสามารถใช้คำสั่งของ Unix ได้ด้วย ซึ่งอาจมีบางคำสั่ง ที่จะไปทับคำสั่งเดิมของ Command Prompt ได้ (ไม่แนะนำตัวเลือกนี้ เพราะอาจไปกวนการทำงานของ Windows หรือโปรแกรมอื่น ๆ บางโปรแกรม)
สำหรับมือใหม่ จะใช้ตัวเลือกที่ 1 หรือ 2 ก็ได้ แล้วแต่ความชอบ ถ้าไม่ได้ใช้ Command Prompt เลย ก็ให้เลือกตัวเลือกที่สอง
สำหรับผม ขอเลือกตัวเลือกที่ 1 เนื่องจากผมใช้ Command Prompt ค่อนข้างเยอะ และบางงานยังเขียนเป็น Batch ด้วย
เมื่อเลือกตัวเลือกที่ต้องการได้แล้ว กดปุ่ม Next >

ต่อไปเป็นตัวเลือกของการขึ้นบรรทัดใหม่ ซึ่งคงทราบกันดีว่า การขึ้นบรรทัดใหม่บน Windows นั้น จะใช้ Character CRLF (ASCII 13 + ASCII 10) ซึ่งต่างจากระบบอื่น ๆ คือจะใช้ Character LF (ASCII 10) ซึ่ง Git ก็มีตัวเลือกให้เราจัดการ ดังนี้
- Checkout Windows-style, commit Unix-style line endings – เมื่อเลือกตัวเลือกนี้ เวลาเราเอา Source Code ออกมาจาก Git จะได้เป็น CRLF แต่เมื่อให้ Git เก็บ Source Code จะเก็บเป็น LF แนะนำ
- Checkout as-is, commit Unix-style line endings – เมื่อเลือกตัวเลือกนี้ เวลาเอา Source Code ออกมาจาก Git จะไม่มีการแปลงใด ๆ แต่เมื่อให้ Git เก็บ Source Code จะเก็บเป็น LF
- Checkout as-is, commit as-is – เมื่อเลือกตัวเลือกนี้ ทั้งการเอา Source Code เข้าและออก จะไม่มีการแปลงใด ๆ
เมื่อเลือกได้แล้ว ก็กดปุ่ม Next >

ขั้นตอนต่อไป จะมีการแจ้งเตือนโปรแกรมอื่น ๆ ที่เปิดไว้อยู่ ซึ่ง Git แนะนำให้ปิดไปก่อน หากไม่ปิด (หรือปิดไม่ได้ เช่น Windows Explorer) ตัวติดตั้งจะทำการบังคับปิดให้อัตโนมัติ เรียบร้อยแล้วก็ Next > ก็จะเริ่มต้นการติดตั้ง ก็รอจนกว่าจะเสร็จ


เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว จะมีตัวเลือกสำหรับดู Release Notes ของ Version ที่เพิ่งจะติดตั้งไป และปุ่ม Finish เป็นอันเรียบร้อย

สำหรับการติดตั้ง Git for Windows หากมี Version ใหม่ออกมา สามารถ Download มาติดตั้งทับได้เลย ซึ่งขั้นตอนก็จะเหมือนการติดตั้งครั้งแรกเลย
สรุปขั้นตอนการติดตั้งแบบสั้น ๆ คือ Next Generation!! นั่นเอง
ตรวจสอบกันหน่อย… เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว จะพบกับ Icon สองตัวด้วยกัน คือ Git GUI และ Git Bash

ส่วนของ Git GUI จะเป็นหน้า GUI ที่รวบรวมคำสั่งต่าง ๆ ไว้ให้แล้ว ลองตรวจสอบ Version ของ Git ที่ติดตั้ง ได้จากเมนู Help (1) > About Git Gui (2)


ส่วนของ Git Bash จะเป็นหน้า Command Prompt จะแสดง Version อยู่ในบรรทัดแรก และสามารถตรวจสอบได้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง
1 |
git --version |
หรือ
1 |
git version |
และถ้าลองคลิกเมาส์ขวา ที่ที่ว่าง ใน Folder ใด ๆ จะมีเมนูของ Git เพิ่มขึ้นมา สามารถเปิดเข้าไปยัง Git GUI และ Git Bash โดยเริ่มต้นที่ Path ตาม Folder ที่เปิดอยู่ได้ทันที

แต่สำหรับเครื่องใครที่เปิด Git GUI หรือ Git Bash จากเมนูด้านบนแล้วไม่ขึ้น (หรือพบ Error) ให้ทำการกำหนดตัวแปร Path เพิ่มเติม ให้กับ Windows โดยการเข้าไปที่ Control Panel > System (1) > Advanced system settings (2) > ไปที่ Tab Advanced (3) > คลิกปุ่ม Environment Variables… (4) > ในส่วนของ System variables เลือกไปที่ Path (5) > แล้วกดปุ่ม Edit… (6) > และเติม Path ของ Folder bin ของ Git ลงไปต่อท้าย อย่าลืมคั่นด้วย ; ในช่อง Variable value: (7) กดปุ่ม OK OK OK ไป แล้วลองดูใหม่

เท่านี้ก็พร้อมใช้งาน Git บน Windows แล้วล่ะคร๊าบบบบบ
อ่านต่อที่ [Dev] ใช้ Git เพื่อชีวิต (Source Code) ที่ดีกว่า – การใช้งาน Git GUI เบื้องต้น