[How to] วิธีทำให้ Eclipse เป็นเครื่องมือในการเขียน Web ด้วย php

รู้กันไม๊เอ่ย ว่าเราสามารถทำให้ eclipse นั้น เป็น php editor ได้ด้วยนะ

eclipse

แต่ไม่ใช่ว่าอยู่ ๆ จะใช้งานได้เลย เราจำเป็นจะต้องติดตั้ง PHP Development Tools (PDT) เพิ่มเติม มาดูขั้นตอนกันเลย

Install PDT

ไปที่เมนู Help > Install New Software…

เมนู About > Install New Software...
เมนู About > Install New Software…

ในช่อง Work with ให้กำหนดไปที่ http://download.eclipse.org/releases/juno แล้วพิมพ์ php ที่ช่องค้นหา รอสักครู่ จะพบรายการของ PDT ให้ติ๊กถูกเฉพาะช่อง PHP Development Tools (PDT) เท่านั้น จากรูปจะเห็นว่า เจอ PDT อยู่ 3 กลุ่ม เลือก PDT จากกลุ่มไหนก็ได้ มันคือตัวเดียวกัน แล้วกดปุ่ม Next >

เลือกติดตั้ง PDT
เลือกติดตั้ง PHP Development Tools (PDT)

หากไม่พบ URL ด้านบน สามารถเพิ่มเข้าไปเองได้ด้วยปุ่ม Add… แล้วกำหนดข้อมูลเข้าไป ดังนี้

เพิ่ม URL เข้าไปเอง
เพิ่ม URL เข้าไปเอง

หน้าจอต่อไป ก็จะพบกับรายละเอียดการติดตั้ง กดปุ่ม Next >

รายละเอียดการติดตั้ง PDT
รายละเอียดการติดตั้ง PDT

อ่าน License กันนิดนึง Matrix

จบยัง…

จบแล้วนะ So Tired

ok ติ๊กที่ I accept… เมื่อตกลงทำตามเงื่อนไขที่ได้อ่านมาแล้ว แล้วกด Finish

ข้อมูล License
ข้อมูล License

เริ่มการติดตั้ง…

Download PDT
Download PDT

เมื่อติดตั้งเสร็จ Eclipse จะแจ้งให้ Restart ใหม่ ก็ตอบ Yes ไป…

Eclipse แจ้งให้ restart ครั้งนึง
Eclipse แจ้งให้ restart ครั้งนึง

เมื่อเปิด Eclipse ขึ้นมาใหม่ ให้ไปที่เมนู Window > Open Perspective > Other…

เมนู Window > Open Perspective > Other...
เมนู Window > Open Perspective > Other…

เลือก Perspective เป็น PHP แล้วกดปุ่ม OK

PHP Perspective
PHP Perspective

ก็จะได้เห็นหน้าตา PHP Perspective แล้ว ซึ่งด้านซ้ายจะมีหน้าต่าง PHP Explorer สำหรับแสดงรายการไฟล์ และทางขวาจะมีหน้าต่าง Outline สำหรับแสดงรายการชื่อ Class ชื่อตัวแปร ชื่อ Method ต่าง ๆ ใน Source code ของเราได้

Eclipse PHP Perspective
Eclipse PHP Perspective

 

Use php in eclipse

ขั้นตอนการใช้งาน ในบทความนี้ จะเป็นการนำเอา Web PHP ที่เขียนไว้แล้ว เข้ามาเปิดบน Eclipse

เริ่มต้น เราต้องสร้าง PHP Project ขึ้นมาก่อน โดยเลือกไปที่เมนู File > New > PHP Project (ถ้าไม่พบ ให้เลือกไปที่ Other…)

Create PHP Project
Create PHP Project

กำหนดชื่อ Project แล้วเลือกไปที่ Create project at existing location แล้วกำหนด Directory ของ Source code เดิมที่มีอยู่แล้ว (หากสร้างใหม่เลย ให้เลือกไปที่ Create new project in workspace) และกำหนดตัวเลือกอื่น ๆ ตามต้องการ แล้วกดปุ่ม Finish

กำหนดชื่อ Project และรายละเอียดต่าง ๆ
กำหนดชื่อ Project และรายละเอียดต่าง ๆ

ในหน้าต่าง PHP Explorer ก็จะแสดง Source code ของเราได้แล้ว

หน้าต่าง PHP Explorer
หน้าต่าง PHP Explorer

แต่ถ้าหากยังไม่แสดง ให้คลิกที่หัวลูกศรลง จะพบเมนูต่าง ๆ ลองกด ๆ เข้าไปดูนะครับ อาจจะไม่ได้กำหนดให้แสดงไว้ก็ได้

เมนู Configure Working Sets...
เมนู Configure Working Sets…

หากต้องการให้ Eclipse แสดง Encoding ตามที่เราต้องการ สามารถกำหนดได้ โดยคลิกขวาที่ Project เลือก Properties

เมนู Properties ของ Project
เมนู Properties ของ Project

สามารถกำหนด Encoding ที่ต้องการ จากเมนู Resource

กำหนด Encoding ที่ต้องการ
กำหนด Encoding ที่ต้องการ

ที่ Source code เราสามารถนำ Cursor ไปชี้ตามจุดต่าง ๆ จะมี Tooltip แสดงรายละเอียดให้ทราบ ใครที่ชอบ Visual Studio คงยิ้มแก้มปริเลย Ha Ha

Tooltip เมื่อนำ Cursor ไปชี้ที่คำสั่ง
Tooltip เมื่อนำ Cursor ไปชี้ที่คำสั่ง

เวลาพิมพ์คำสั่ง จะมีกรอบหน้าต่าง Template ขึ้นมาให้เลือก พร้อม Tooltip เหมือน Visual Studio เลย ชอบม๊า ชอบม๊าาาาาา Big Smile

หน้าต่าง Template ขึ้นมาให้เลือกคำสั่งที่ใช้ได้
หน้าต่าง Template ขึ้นมาให้เลือกคำสั่งที่ใช้ได้

จากรูปบน เมื่อเลือก Method ที่ต้องการ จะมี Tooltip ขึ้นมาบอกเกี่ยวกับ Parameter ที่ต้องกำหนด

นี่มัน Visual Studio ชัด ๆ Ugh!

Tooltip ช่วยบอก Parameter ที่ต้องกำหนด
Tooltip ช่วยบอก Parameter ที่ต้องกำหนด

เมื่อคลิกขวาที่ตัวแปร Method หรือ Function จะมีเมนู Open Declaration ให้เลือก

คลิกขวาที่ Source code จะมีเมนู Open Declaration ให้เลือก
คลิกขวาที่ Source code จะมีเมนู Open Declaration ให้เลือก

เมื่อเลือกเมนู Open Declaration แล้ว Eclipse จะกระโดดไปที่ ตัวแปร Method หรือ Function นั้น และหากอยู่คนละไฟล์ สามารถไปเปิดไฟล์นั้นขึ้นมาให้เลยได้ด้วย

หลังจากเลือกเมนู Open Declaration
หลังจากเลือกเมนู Open Declaration

ในหน้าต่าง Outline สามารถแสดงรายการของคำสั่งต่าง ๆ ในไฟล์ที่เปิดอยู่ได้ด้วย เราสามารถคลิกในรายการ เพื่อให้ Eclipse กระโดดไปยังบรรทัดนั้น ๆ ได้เลย

หน้าต่าง Outline
หน้าต่าง Outline

เมื่อเห็นความเก่งของ Eclipse + PDT อย่างนี้ ยังจะใช้ Notepad, Notepad++, Edit Plus, Dreamweaver ฯลฯ กันอยู่ไม๊ครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

 

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.