เมื่อวานนี้ ทางสมาคมโปรแกรมเมอร์แห่งประเทศไทย ได้จัดงาน Code Mania 11 ขึ้นมา ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่จัดงานนี้ (นับเลขครั้งเป็นเลขฐาน 2) ซึ่งผมก็ได้มีโอกาสไปร่วมฟังบรรยายในงานในฐานะ Blogger คนนึง ก็เลยมาเล่าบรรยากาศในงานให้ได้รับชมกัน
โดยครั้งนี้ ทางสมาคมฯ ได้เลือกสถานที่จัดงานเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้ Theme ของงานคือ Raise the bar ซึ่งจะนำเสนอไปในทิศทางว่า “อะไรคือสิ่งที่คนไทยจะได้รู้แล้วจะทำให้เขียนโปรแกรมได้ เก่งขึ้น สะดวกขึ้น เร็วขึ้น โค้ดสวยมากยิ่งขึ้น”
แค่หัวเรื่องก็น่าสนใจแล้วใช่ไม๊ล่ะ~!!
เมื่อช่วงต้นเดือน ทางสมาคมได้ประกาศจัดงาน Code Mania 11 ซึ่งจากที่ผมได้เคยไปงาน Code Mania 10 (ครั้งที่ 2) มาเมื่อปีที่แล้ว และได้ความรู้กลับบ้านมาเรียกได้ว่าล้นเลยทีเดียว จึงไม่ลังเลที่จะจองบัตรเข้างานครั้งนี้ให้ทัน
และเหมือนจะเคยเห็นสถิติการแย่งชิงตั๋วเข้างาน ตอน Code Mania 01 มีบัตรราว 120 ใบ หมดใน 7 นาที และ Code Mania 10 มีบัตรราว 300 ใบ ก็หมดใน 5 นาที ซึ่ง 2 ครั้งแรกนั้น ทางสมาคมได้แจกตั๋วฟรี ส่วนผมได้ตั๋ว Code Mania 10 จาก Comsci Cafe’ ซึ่งเป็นสปอนเซอร์ในครั้งที่แล้ว (ขอบคุณย้อนหลังคร๊าบบบบ)
สำหรับในครั้งนี้ ทางทีมงานได้เปิดจองบัตรราว 400 ใบ โดยกำหนดราคาไว้ที่ 250 บาท โดยเปิดขายบัตรที่ Event Pop ตอน 2 ทุ่ม ในวันที่ 11 กุมภาฯ และสามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือโอนเงินภายใน 24 ชั่วโมง แน่นอนว่า ผมกดจองบัตรได้ในนาทีแรก ๆ กำลังจะชำระเงิน ก็ได้รับการติดต่อจากทีมงานสมาคมฯ มา ให้ Code สำหรับกดรับบัตรฟรี สำหรับ Blogger ก็เลยปล่อยบัตรหลุดไป ต้องขอบคุณทางสมาคมฯ ด้วยครับ

เขียน Blog มีแต่เรื่องดี ๆ เห็นมะ ๆ มาเขียน Blog กันเถอะ
จากการสังเกตุการณ์ บัตร 400 ใบ หมดภายในไม่ถึง 1 ชั่วโมง ที่ช้ากว่าครั้งแรก ๆ ก็ปัจจัยเดียวเลย ตั๋วไม่ฟรี!! แต่สำหรับเงิน 250 บาท แลกกับความรู้ที่ได้ บอกเลยว่า คุ้มมากครับ
ส่วนคนที่ไม่ได้ไป สามารถชมถ่ายทอดสดได้ด้วยนะ
แอบรู้มาว่า ค่าเสื้อ กับค่าอาหาร ค่าป้ายแขวนคอ ก็เกิน 250 บาทแล้วล่ะ…
ฉากตัดไปที่วันงาน… เช้าวันเสาร์ที่ 27 กุมภาฯ ผมเดินทางไปถึงที่งานตอนเช้า
ไปถึงก็ลงทะเบียนกันก่อนพร้อมรับป้ายชื่อ สายคล้องคอ คูปองอาหาร และเสื้อ
หลังจากนั้นก็รอประตูเปิด ผู้ที่มีบัตรก็ทะยอยเดินทางมากันเยอะขึ้นเรื่อย ๆ
แล้วก็เริ่มทะยอยเข้าไปยังหอประชุม ผมเข้าช้าไปหน่อย เลยนั่งซะไกลเลย
เริ่มงานทีมงานได้เชิญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเปิดงาน (ขออภัยที่รูปไม่ชัด นั่งไกลไปนิด)
ต่อด้วยประธานสมาคมฯ คุณศุภเสฏฐ์ ชูชัยศรี แนะนำกำหนดการ และ Session ต่าง ๆ (ดูรายละเอียดได้ที่นี่)
Keynote โดยครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณภัทราวุธ ซื่อสัตยําศิลป์ (บอย) CTO Wongnai มาพูดให้ฟังในหัวข้อ “แกะสถาปัตยกรรม วงใน จากผู้ใช้หลักร้อยถึงหลักล้าน” : บทเรียนความผิดพลาด ปัญหา และการปรับปรุงระบบจากวันแรกถึงปัจจุบัน
โดยในช่วงแรก เป็นการแนะนำให้รู้จักกับวงในก่อน
เล่าถึงสถิติต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน
ต่อด้วยการ Migrate ระบบ สู่ AWS
และได้เล่าถึงเทคโนโลยี และเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ทางวงในใช้สร้างระบบ
ต่อด้วยเป้าหมายถัดไปในอนาคต
ตามด้วยกระบวนการ และเครื่องมือ ที่ใช้ทำงานร่วมกันในทีม
และนี่คือจำนวนทีมงานทั้งหมด ของวงใน
จบ Keynote
ต่อด้วย Session ของนิสิต
หัวข้อแรก “Like Behavior on Facebook Pages” พูดถึง การเขียนโปรแกรมเพื่อตรวจสอบและเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการ Like จำแนกตาม Facebook Page ที่ผู้ใช้ติดตาม โดยคุณณรงค์ อินทร์รักษ์ (โหน่ง) นิสิตปริญญาเอก วิศวกรรมคอมพิวเตอร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวข้อที่สอง “Hello! Functional Programming” มาพูดในหัวข้อ ทำความรู้จักกับ functional programming มันคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? อยู่ร่วมกับ OOP ได้หรือไม่? พร้อมตัวอย่าง code โดยคุณศุภณัฐ โพธิวรํากร (บอส) นิสิต ชั้นปี 4 วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จบแล้ว ต่อด้วยการเปิดตัวสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย และสิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิกสมาคม
สนใจสมัครสมาชิกสมาคมฯ อ่านเติมเติมได้ที่นี่ และตรวจสอบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ได้ที่นี่
สำหรับในงาน จะมีจุดลงทะเบียนให้ได้สมัครกัน ซึ่งผมก็ได้สมัครไปเรียบร้อยแล้วครับ
และมีพวงกุญแจสมาคมฯ จำหน่ายด้วย (ไม่ได้ถ่ายรูปมา ขอยืมรูปจากทีมงานมาแปะนะครับ)
จาก https://www.facebook.com/groups/ThaiPGAssociateSociety/permalink/465031320374809/
ก่อนจบช่วงเช้า มีการถ่ายภาพร่วมกัน
พักเที่ยง ถึงเวลารับประทานอาหารกลางวัน ซึ่งทีมงานได้จัดเตรียมข้าวกล่อง มีให้เลือกหลากหลายแบบ และน้ำดื่มไว้บริการ
ลืมถ่ายรูปมา
ช่วงบ่ายจะแบ่ง Session ต่าง ๆ ออกเป็น 3 ห้อง บรรยายพร้อมกัน ทั้งหมด 5 รอบ โดย Speaker ทั้งหมด 15 ท่าน ตรงนี้ต้องวางแผนกันไปให้ดี ๆ เพื่อที่จะได้เลือกฟังในหัวข้อที่สนใจ และไปได้ถูกห้อง ทันเวลา…
Session แรกผมเลือกเข้าฟังในหัวข้อ “เปิดโลกใหม่กับ Preprocessor” เดี๋ยวนี้ใครเค้าเขียน HTML, CSS, JS กัน โดยคุณวรธนะ งํามตระกูลชล (เพิร์ธ) และคุณวัชรพล เจริญวงษ์จงดี (อั้ม) จาก Designil.com
Session ต่อมา ผมเลือกฟังในหัวข้อ “บุกป่าผ่าดงอิฟ” โดยคุณสมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน (ปุ๋ย) จาก สยามชำนาญกิจ เจ้าของ Blog somkiat.cc นี่เอง
Session ที่ 3 ผมได้เข้าฟังเรื่อง “Acceptance test driven development” โดยคุณทวิร พานิชสมบัติ (รูฟ)
จาก Odd-e
จบ 3 Session มีพักเบรคกินขนม 10 นาที…
ลืมถ่ายรูปอีกแล้ว
Session ที่ 4 ผมเข้าฟังเรื่อง “Building and Maintaining OpenSource Projects” โดยคุณอัครวุฒิ ตำราเรียง (บัง) จาก Marvelic Engine
และ Session สุดท้าย ผมเข้าฟังเรื่อง “ฝ่าด่านอรหันต์ สู่เส้นทําง Debian Developer” โดยคุณนิวตรอน เสามั่น (ดิ้น) Debian Maintainer จาก DebianClub.org
เมื่อจบ 5 Session แล้ว ก็แยกย้ายกันเดินทางกลับ…
ครั้งนี้ไม่มีเข้าห้องรวมเพื่อปิดงาน แอบเสียดายนิด ๆ มันดูตัดจบเกินไป
ก็เหมือนครั้งที่แล้วครับ ได้รับความรู้กลับบ้านไปเต็มเปี่ยม งานแบบนี้ ผมขอแนะนำอย่างยิ่งสำหรับเหล่า Developer ที่ต้องการพัฒนาตัวเอง และอยากให้ผู้ที่ไม่เคยไปร่วมงานอะไรแบบนี้ ลองไปเปิดหูเปิดตา เปิดโลกทัศน์บ้างนะครับ จะได้รู้ว่า ยังมีโลกกว้างที่น่าสนใจอีกเยอะ จงอย่าเป็นกบอยู่แต่ในกะลา
สำหรับผู้ที่พลาดงานนี้ สามารถชมย้อนหลังได้ที่ [LIVE] ถ่ายทอดสดงาน Code Mania 11 – Raise The Bar
และผมได้รวบรวม Slide ใน Session ต่าง ๆ ไว้ให้แล้ว ด้านล่างนี้
- Wongnai Engineering Story
- ล้วงลึกระบบค้นหา จากหลักร้อยถึงร้อยล้านลอง Priceza
- เปิดโลกใหม่กับ Preprocessor
- Test Double Patterns with Python
- Programming as a sport
- บุกป่าฝ่าดงอิฟ
- Advance Android Layout Walkthrough
- Acceptance test driven development
- Take a REST
- Spark in Action
- How to manage cloud Infrastructure for start-up
- Building and Maintaining OpenSource Projects
- VR for Developer
- ฝ่าด่านอรหันต์ สู่เส้นทาง Debian Developer
- Functional Reactive Programming
- SQL + No SQL = New SQL
สุดท้าย ขอขอบคุณสมาคมโปรแกรมเมอร์แห่งประเทศไทย ที่ได้จัดงานดี ๆ แบบนี้ขึ้นมา ขอเป็นกำลังใจให้ทีมงานจัดงานดี ๆ แบบนี้ไปอีกเรื่อย ๆ ขอบคุณครับ
ป.ล. ขออภัยที่ไม่ได้อธิบายรายละเอียดในหลาย ๆ จุด เพราะผมคงเก็บรายละเอียดมาไม่ได้หมด อยากให้ผู้ที่สนใจ ย้อนดูคลิปย้อนหลังจาก Link ด้านบนจะดีกว่านะคร๊าบบบบ
Permalink
Permalink